
ทวีเวท ศรีณรงค์
นักเรียนทุนดนตรีคนแรกในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ สำเร็จปริญญาโทจาก Yale School of Music และเป็นนักไวโอลินชาวไทยคนแรกและคนเดียว ที่ได้รับปริญญาเอกด้านไวโอลินจาก Stony Brook University, New York สหรัฐอเมริกา นักไวโอลินที่มีประสบการณ์โชกโชนทั้งเวทีโลก และในประเทศ ด้วยความสามารถที่ครบเครื่องคนหนึ่งของไทย

คณิน อุดมมะนะ
กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนดนตรีที่เก่าแก่และดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก University of Music and Performing Arts Vienna ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย กับ Prof. Reiner Kuchl หัวหน้าวง Vienna Philharmonic Orchestra นักไวโอลินฝีมือเยี่ยมที่จะเป็นหนึ่งในผู้ยืนแถวหน้าของไทย

มิติ วิสุทธิ์อัมพร
นักวิโอล่าไทย ผู้ได้รับเกียรติอันสำคัญยิ่ง ให้แสดงดนตรีเฉพาะพระพักตร์ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร คราวเสด็จฯ เยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ ขณะที่ยังเป็นเพียงนักศึกษาดนตรี ด้วยทุนของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ก่อนที่จะได้รับทุนจาก Carnegie Mellon University สหรัฐอเมริกาจนสำเร็จการศึกษาดนตรีระดับปริญญาโท นับได้ว่า มิติ เป็นนักวิโอล่าที่ดีที่สุดคนหนึ่งของไทยในขณะนี้

เอกชัย มาสกุลรัตน์
“a powerful musician and a great young cellist in the making” คำวิจารณ์จากกรรมการ Yong Siew Toh Conservatory of Music Concerto Competition 2006/2007 หลังจากการบรรเลง Cello Concerto แต่งโดย Elgar ซึ่งเอกชัยได้รับรางวัลชนะเลิศ นักดนตรีที่มีพื้นฐานมาจากดนตรีไทย พัฒนาสู่การเป็น นักเชลโล่ที่เก่งที่สุดคนหนึ่งเท่าที่ประเทศไทยเคยมี

ณัฐพล เลิศวนัสวงศ์
นักดับเบิลเบสดาวรุ่ง คนแรกและคนเดียวในประเทศไทยที่ได้รับทุนจากรัฐบาลสิงคโปร์เพื่อเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ Peabody Institute of Music, Johns Hopkins University สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 5 เดือน

คริสโตเฟอร์ จั้นว้อง แมคคิแกน
“astounding technique. [with] startling poise and control” (Kansas City Star) “astonishing virtuosity and piano coloration” (The Citizen) นักดนตรีลูกครึ่ง ผู้จะเป็นแรงบันดาลใจที่ดีที่สุดให้เยาวชนดนตรี ไปยืนบนเวทีโลก

ทฤษฎี ณ พัทลุง
จากการอำนวยเพลงของ “ทฤษฎี” ในมหาอุปรากรเรื่อง The Magic Flute ของ Mozart นิตยสาร ‘OPERA’ แห่งกรุงลอนดอน ได้กล่าวถึงการแสดงครั้งนั้นในบทวิจารณ์ว่า “If the word ‘genius’ still has any meaning in this age of rampant hyperbole, Trisdee … is truly a living example.” อัจฉริยะคีตกวี นักดนตรี ผู้สร้างความหวังให้ดนตรีคลาสสิกในประเทศไทยกลับมาสดใสอีกครั้ง